วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ATOMY แนะนำ...Trick การอ่านฉลากเครื่องสำอางภาษาอังกฤษ

ในสมัยนี้เครื่องสำอางหรือเครื่องประทินผิวต่างๆ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว “ฉลากเครื่องสำอาง” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ตรงกับความต้องการของเรา
แต่ฉลากเครื่องสำอางส่วนใหญ่มักเป็นภาษาอังกฤษ แม้จะมีฉลากภาษาไทยอยู่บ้างก็ไม่ละเอียด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนละเลยที่จะอ่าน วันนี้เราจึงได้นำวิธีการง่ายๆและ Tricks เล็กๆน้อยๆในการอ่านฉลาก “เครื่องสำอางภาษาอังกฤษ” มาฝากค่ะ

Trick ข้อที่ 1: อันดับแรก… อย่าลืมดูวันหมดอายุ

ไม่ว่า Cosmetic หรือ Skincare ชิ้นนั้นจะมีส่วนผสมที่ดีเลิศขนาดไหน  แต่ถ้าหมดอายุก็คงไร้ความหมาย   ดังนั้นปราการด่านแรกที่เราควรอ่านเมื่อจะซื้อเครื่องสำอางสักชิ้นก็คือ “วันหมดอายุ” ซึ่งมักเขียนคู่อยู่กับวันผลิต และมักจะเขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษ  จึงทำให้หลายคนงงว่า อักษรย่อตัวไหนคือวันหมดอายุหรือวันผลิตกันแน่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจข้อนี้กันค่ะ
วันหมดอายุ มีตัวย่อคือ EXP หรือ Exp. date ย่อมาจาก Expiry date หรือ Expiration date ซึ่งหมายถึง วันหมดอายุนั่นเอง ส่วนอีกคำหนึ่งที่มักอยู่คู่กันคือ MFG ย่อมาจากคำว่า Manufacturing date แปลว่าวันที่ผลิต ซึ่งสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะเครื่องสำอาง มักระบุมาเฉพาะวันที่ผลิต เลยทำให้เกิดความสับสนของผู้ซื้อว่า ตัวเลขที่ระบุมาเป็นวันหมดอายุหรือวันที่ผลิตกันแน่
เรามี Tricks ง่ายๆในการจำมาฝากค่ะ  โดยให้ยึดตัว M เป็นหลัก คิดซะว่า M ย่อมาจาก Made ซึ่งแปลว่า “ทำ” ดังนั้นถ้ามีตัวย่อ M ให้คิดไว้เลยว่าต้องหมายถึงวันที่ผลิตแน่นอน

⇇ แต่อายุการใช้งานก็ตามรูปด้านซ้ายนะคะ ว่าเราควรจะโยนมันทิ้งหลังจากใช้ไปได้นานเท่าไหร่

Trick ข้อที่ 2 : active ingredient เครื่องสำอางจะได้ผลหรือไม่ให้ดูตรงนี้!!

active ingredient ก็คือ สารออกฤทธิ์ในเครื่องสำอาง  ลองสังเกตดูดีจะพบว่า เครื่องสำอางเกือบทุกชนิด มีส่วนผสมอันดับแรกเป็นน้ำ water / Aqua (คำว่า Aqua เป็นรากศัพท์ที่มาจากภาษาละตินซึ่งหมายถึง ที่เกี่ยวกับน้ำ หากเราทราบและจำรากศัพท์ได้เยอะ ก็จะดีที่จะช่วยเราในการเดาความหมายของคำศัพท์) ซึ่งจะช่วยในการทำละลายและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตามมาด้วยสารเคมีอีกกลุ่ม และมีชื่อสารสกัดจากธรรมชาติ อย่างคำว่า Lemon Extract, Orange Extract , Ginger Extract คำว่า Extract หมายถึง สกัดออกมา
ดังนั้นคำที่ลงท้ายด้วย Extract จึงหมายถึงสารสกัดจากพืชชนิดนั้นๆส่วนสาวๆที่อยากมีผิวขาวใส  ลองมองหาส่วนผสมพวก ascorbic acid (วิตามินซี), (licorice extract) สารสกัดจากชะเอมเทศ, alpha hydroxyl acid (กรดผลไม้) หรือ Niacin amide (วิตามินบี) ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยผลัดเซลผิวหรือช่วยลดการสร้างเมลานินของผิวได้

นอกจากนี้ เครื่องสำอางทุกชนิดย่อมใส่สารกันบูด ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคำว่า Preservative สารกันบูดก็มีหลายชนิดในท้องตลาด ทั้งแบบ Synthetic Preservatives ที่แปลว่าสารสังเคราะห์  และแบบ Natural Preservative  ซึ่งแปลว่าสกัดจากมาจากพืช หากเราสามารถเลือกชนิดที่มาจากธรรมชาติได้ ก็ย่อมปลอดภัยกับผิวมากขึ้น

Tricks ข้อที่ 3 :สารเคมีควรหลีกเลี่ยง

สารเคมีที่ผสมลงไปในเครื่องสำอาง ก็เพื่อให้ส่วนผสมต่างๆออกฤทธิ์ได้เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่สารเคมีทุกชนิดที่จะมีประโยชน์ต่อผิว หากพบชื่อสารเคมีเหล่านี้แนะนำให้ระวังกันไว้ก่อน เพราะเป็นสารเคมีที่เคืองผิว ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง
– Petrolatum หรือ Petroleum หรือ Mineral Oil เป็นน้ำมันบริสุทธิ์ที่ผ่านสกัดมาจากน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งมีโมเลกุลใหญ่และอาจอุดตันผิวได้
– Synthetic Fragrance  หมายถึง น้ำหอม  อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน
– Synthetic Color หมายถึง สีสังเคราะห์  ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจมีมีสารตะกั่วและปรอทปนเปื้อน

Tricks ข้อที่ 4 ศัพท์ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องสําอาง

Anti-aging : เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติต่อต้าน ลบเลือน ลดหรือชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ยังมีคำว่า Age-defense, Anti-wrinkle, Time Defiance ที่มีความหมายเดียวกัน
Fragrance Free : คือปราศจากส่วนผสมที่เป็นน้ำหอม (ที่สังเคราะห์จากสารเคมี)
Allergy Tested : หากมีคำนี้ก็แสดงว่าเครื่องสำอางชนิดนั้นได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่แพ้
Non-alcohol : ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
Against Animal Testing :  ไม่มีการทดสอบกับสัตว์ทดลอง 
Firming/Lift :
 เป็นคุณสมบัติที่ช่วยยก กระชับผิวให้เต่งตึง ลดเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่น แลดูอ่อนเยาว์ขึ้น
Oil Control/Shine Control : เครื่องสำอางที่ช่วยควบคุมความมัน
Anti-oxidant : มีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติ ต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ
Waterproof :  สามารถกันน้ำได้หรือไม่ละลายน้ำ
White/Whitening : ปรับสีผิวให้ขาวขึ้น
UV Filter : สามารถป้องกันรังสีอัลต้าไวโอเล็ตจากแสงแดดได้
Hydrating Cream :
  ครีมที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวโดยไม่ทิ้งความมันไว้บนผิว
สินค้าทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคต่างก็จัดเป็นหนึ่งในสื่อภาษาอังกฤษที่ใกล้ตัวเราที่สุด โดยเฉพาะเครื่องสำอาง แม้ว่าผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีภาษาอังกฤษกำกับอยู่ไม่กี่คำก็ตาม  แต่ถ้าเราหมั่นสังเกตและฝึกฝนบ่อยๆ  ก็จะช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราได้ 
แม้จะไม่ได้ความรู้ด้านไวยากรณ์มากนัก แต่ก็ช่วยให้เรารู้ศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเราสามารถอ่านฉลากภาษาอังกฤษของสินค้าได้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว เราก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย  เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวเลยล่ะ
ปิดท้ายด้วย ความจริงที่ว่า เสื้อผ้าเป็นแฟชั่น เป็นอาภรณ์สวมใส่ มาแล้วก็ไป แต่ ผิวของเรา คลุมร่างกายเราตลอดชีวิต ฉะนั้นควรให้ความสำคัญและดูแลมันให้ยิ่งกว่าเสื้อผ้านะคะ
สนใจอยากรับข้อมูลดี ๆ และรับแจกของทดลองใช้ ฟรี คลิกกรอกชื่อที่อยู่ลยค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น